รูป

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 4

บทที่ 4.การสื่อสารและระบบเครือข่าย
4.1 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการศึกษาการศึกษาเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ จึงได้มีการพัฒนาการศึกษามาอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาองค์ประกอบและวิธีการต่าง ๆ ทำให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัยและเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน สถานศึกษาทุกแห่งต่างก็ให้ความสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการนำคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้าไปใช้ในสถานศึกษา สถานศึกษาใดที่ขาดแคลนสิ่งเหล่านี้ก็จำเป็นต้องขวนขวายจัดหามา แต่การใช้ให้เกิดประโยชน์คุณค่านั้นจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้และมีวิธีบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จึงจะเกิดคุณค่าอย่างแท้จริงได้4.2 องค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ทุกคนตระหนักดีว่าคอมพิวเตอร์มิใช่เป็นเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องจัดหาองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้พร้อม ๆ กัน บริษัท IBM ได้ใช้หลักการ 4 C’s Components ในการประเมินความพร้อมของประเทศต่าง ๆ ในการให้บริการความรู้ด้วยระบบ e-Learning หลักการ 4 C’s Components ประกอบด้วย Connectivity, Content, Capacity building และ Culture องค์ประกอบทั้ง 4 นี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้ ดังนี้4.2.1 Connectivity หมายถึง องค์ประกอบด้านเครื่องคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นองค์ประกอบที่นับได้ว่ามีการจัดหาดำเนินการมานานหลายปีแล้ว แต่เนื่องจากองค์ประกอบนี้มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่สามารถทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงดำเนินการต่อเนื่องมานานหลายปี โดยมีการจัดทำแผนกำหนดเป้าหมายสัดส่วนคอมพิวเตอร์กับจำนวนนักเรียนมาอย่างต่อเนื่อง ในปี งบประมาณ 2549 ได้มีแผนจัดซื้อคอมพิวเตอร์จำนวน 250,000 เครื่อง ให้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้มีสัดส่วน นักเรียน 20 คน ต่อ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีการพัฒนาเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเช่นเกาหลีใต้และมาเลเซีย จะมีสัดส่วนที่ นักเรียน 5 คน ต่อ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง เท่านั้นการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบขององค์ประกอบนี้ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตกำลังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดคุณค่าในการใช้เทคโนโลยีเข้าไปพัฒนาการศึกษา การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารทางไกล ซึ่งมีหลายรูปแบบ จึงจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอาจแบ่งเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ(1) การต่อเชื่อมด้วยสาย โดยใช้สายสื่อสารเชื่อมเข้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งหมายความว่า จุดที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีสายสื่อสารเข้าไปถึง เช่น อาจจะเป็นสาย โทรศัพท์หรือสายอย่างอื่นที่ใช้เพื่อการนี้ รูปแบบการเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้ท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งปรากฏว่าในปี 2549 ยังมีสถานศึกษาจำนวนนับหมื่นโรงที่ไม่มีสายสื่อสารเข้าไปถึง การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สายนี้ยังแบ่งออกได้อีกหลายแบบ ได้แก่ การเชื่อมต่อด้วยสายโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งทำได้สะดวก มีค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ได้ความเร็วในการสื่อสารต่ำประมาณ 56 Kbps ชุมสายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยีแบบใหม่จะสามารถใช้บริการเชื่อมต่อที่เรียกว่า ADSL หรือ broad band จะสามารถเพิ่มความเร็วได้สูงขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมี การต่อเชื่อมแบบกำหนดสายสื่อสารเฉพาะ ที่เรียกว่า Leased line ซึ่งจะมีความเร็วได้ตามที่กำหนดไว้(2) การต่อเชื่อมแบบไร้สาย เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่กำลังมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีความสะดวก มีประสิทธิภาพสูง และยังลดค่า ใช้จ่ายได้มากกว่าการเชื่อมต่อด้วยสาย รวมทั้งยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเพิ่ม เติมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในอนาคตเหลือเพียงการเชื่อมต่อแบบไร้สายเท่านั้น เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายในปัจจุบันใช้ WiFi สำหรับการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตในระยะใกล้ มีรัศมีการเชื่อมต่อประมาณ 100 เมตร ซึ่งสามารถใช้ได้ดีสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในอาคารเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีการต่อเชื่อมผ่านดาวเทียมทำให้สามารถเชื่อม ต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกแห่งทั่วประเทศ โดยการตั้งจานดาวเทียมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเมตรเศษก็สามารถสื่อสารทั้งอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ได้ สำหรับเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมีการใช้อย่างกว้าง ขวางในเวลาต่อไปก็คือ WIMAX ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง และมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียม4.2.2 Content หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อการสื่อสารแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ Animation และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งรวมถึงวิดีทัศน์ด้วย องค์ประกอบของ Content แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ การสร้าง การนำเสนอ และ การเข้าถึง(1) การสร้าง (Create) หมายถึง การเขียนเนื้อหา รวบรวม ออกแบบ และจัดทำเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์(2) การนำเสนอ (Offer) หมายถึง การจัดทำสื่อให้อยู่ในรูปแบบที่จะนำไปใช้งานได้ เช่น บันทึกลงในแผ่นซีดี (CD) หรือดีวีดี (DVD) บันทึกอยู่ในเว็บไซต์ ตลอดจนจัดเข้าอยู่ในระบบของ CMS (Content Management System)(3) การเข้าถึง (Access) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงหรือนำสื่อไปใช้ได้ เช่น การดาวน์โหลด (Download) จากเว็บไซต์ การนำซีดีหรือดีวีดีไปติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ตลอดจนการเรียนรู้วิธีการใช้สื่อต่าง ๆ ที่ต้องการเรียนรู้ในการสร้างเนื้อหา สามารถรวบรวมจากส่วนย่อยซึ่งอาจเป็นข้อความหรือรูปภาพต่าง ๆ นำมารวมเข้าด้วยกันก็จะได้หัวข้อเรื่อง นำหัวข้อเรื่องต่าง ๆ มาต่อเข้าด้วยกันก็จะได้บทเรียนจนกระทั่งเป็นหน่วยการเรียนรู้ต่อไปเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน ประเภทแรกอาจเรียกว่า เป็นเครื่องมือสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เหมาะที่จะใช้สร้างสื่อเฉพาะส่วน เช่น Word Processing, Flash, Dream และ Power Point เป็นต้น เครื่องมืออีกประเภทหนึ่งอาจเรียกว่าเป็นโปรแกรมสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้สร้างสื่อให้มีเนื้อหาเป็นเรื่องราวได้ ถ้าเป็นบทเรียนสามารถทำได้ทั้งบท เครื่องมือประเภทนี้มีทั้งชนิดที่สร้างบทเรียนเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ และบางชนิดสามารถสร้างบทเรียนที่สลับซับซ้อนได้ด้วย โปรแกรมสร้างสื่อที่นิยมใช้กันในประเทศไทยมีมากมายตัวอย่างเช่น Flip Publisher, Tool book, Namo และ Elicitus เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้มักจะมีไดอะแกรมภาพตลอดจนวิดีโอคลิป (Video clip)ให้ด้วย ดังนั้นผู้เริ่มต้นสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงมักจะใช้เครื่องมือเหล่านี้ และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นและต้องการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเฉพาะบางประการก็จะต้องใช้เครื่องมือสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเภทแรกด้วย จึงจะสามารถสร้างสื่อที่มีลักษณะตามความต้องการได้ขั้นตอนการสร้างสื่ออาจเริ่มต้นด้วยการกำหนดเนื้อหาหรือบทเรียนที่ต้องการสร้างขึ้น โดยจัดทำและเรียบเรียงเนื้อหาให้มีความชัดเจนและครบถ้วน พร้อมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์ของสื่อที่จะสร้างขึ้น ต่อจากนั้น จะต้องออกแบบตามลักษณะของการนำไปใช้ซึ่งจะทำให้มีลักษณะการสร้างต่อไป แตกต่างกับสื่อที่ใช้เพื่อการเรียนรู้กับสื่อที่ครูจะใช้ประกอบการสอนจะมีวิธีการนำเสนอแตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่วางขายอยู่ในท้องตลาดจึงต้องคำนึงด้วยว่าสื่อดังกล่าวได้ออกแบบไว้ในลักษณะใด ในส่วนของการออกแบบจะต้องจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจน สามารถนำไปเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์ให้นำเสนอสื่อได้ตามความต้องการ ขั้นตอนนี้จะเรียกว่า การเขียน Storyboard ซึ่งหากเขียนได้ชัดเจนมาก สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นมาก็จะมีลักษณะตามความต้องการของผู้ออกแบบ หากเขียนไม่ชัดเจน ผู้ออกแบบจะต้องเป็นผู้เขียนคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง มิเช่นนั้นสื่อที่ออกมาอาจจะไม่ได้คุณลักษณะที่ต้องการ ทำให้ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปรับปรุงมากการออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นขั้นตอนที่จำเป็น ต้องใช้ผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการนำเสนอความรู้ การออกแบบที่ดีจะทำให้ได้สื่อที่มีคุณลักษณะที่ดี ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่ายและน่าสนใจในการเรียนรู้ แต่ในทางตรงกันข้าม หากขาดคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น สื่อที่ได้ก็จะไม่มีคุณค่า บางครั้งสร้างเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์เสร็จแล้วอาจจะสู้สื่อที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ได้ทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเดล (Dale’s Cone of Experience) ได้แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ของมนุษย์มาจากการรับรู้อย่างไร (Witman & Meirhenry,1960) ดังแสดงให้เห็นจากไดอะแกรม.20%30%50%70%90%10%ได้ยินการอ่านการดูการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ยินและการดูได้พูดและเขียนได้สอนและนำไปใช้4.2.3 Capacity building หมายถึง การสร้างขีดความสามารถการเรียนรู้ของผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้กำกับนโยบาย ผู้บริหารหน่วยงาน ครูผู้สอน นักเรียน ตลอดจนถึงผู้สร้างสื่อและเจ้าหน้าที่ทางด้านเทคนิค ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะที่จำเป็น 4 ด้าน คือ การใช้สื่อ ทักษะทางด้านเทคนิค การประสานความร่วมมือ และ การสร้างเครื่องช่วยกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งครูผู้สอนจะต้องมีหน้าที่หลักในการวิเคราะห์ผู้เรียน กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การเลือกสื่อการเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องการความร่วมมือจากผู้เรียนและการประเมินผลครู จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพตามหน้าที่ที่มีการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาครูให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ และโดยที่ครูมีจำนวนมากประกอบกับความเปลี่ยนแปลงในภารกิจหน้าที่ ทำให้ต้องมีการอบรมครูเป็นจำนวนมากเป็นเวลาที่ยาวนาน ดังนั้น การสร้างขีดความสามารถการเรียนรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าไปใช้ในการเรียนการสอนประสบความสำเร็จหรือมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด4.2.4 Culture หมายถึง วัฒนธรรมในการเรียนการสอนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนการสอนที่ครูพบกับนักเรียน และให้ความรู้ตามที่กำหนดไว้ในตารางเรียน ซึ่งมีเวลาที่ชัดเจนและจำกัด โดยครูเป็นผู้สอนให้ความรู้แก่นักเรียนไปตามขั้นตอนที่ครูเป็นผู้กำหนดทั้งหมด เมื่อใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยที่นักเรียนจะต้องรับผิดชอบต่อบทเรียนด้วยตัวเองมากขึ้น นักเรียนจะสามารถเรียนรู้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดขึ้นเอง รู้จักการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ตลอดจนการสังเคราะห์ความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ในขณะเดียวกันครูผู้สอนจะต้องจัดโปรแกรมให้นักเรียนแต่ละคนเรียนตามความสามารถและสนใจของแต่ละคนที่แตกต่างกัน จะต้องเข้าใจพฤติกรรมความแตกต่างระหว่างบุคคลมากขึ้น ตลอดจนยอมรับความแตกต่างเหล่านั้นและนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่พึงประสงค์ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้าสู่เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานกลางให้ได้ ดังนั้น นวัตกรรมการเรียนการสอนจึงมีความแตกต่างจากเดิมมาก และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นจึงจะทำให้การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเกิดผลดียิ่งขึ้นองค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้ ต้องใช้ร่วมกันและต้องได้รับการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน จึงจะสามารถใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาให้เกิดผลดีได้ หากขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งจะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ เปรียบเสมือนรถยนต์ 4 ล้อ ที่ต้องมีล้อครบทั้ง 4 ล้อ จึงจะสามารถแล่นไปได้ หากขาดล้อใดล้อหนึ่งก็จะแล่นไม่ได้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในสถานศึกษานั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญยิ่งของการพัฒนาประเทศ ทุกประเทศทั่วโลกต่างให้ความสำคัญในการพัฒนาการศึกษา การถ่ายทอดความรู้และวิทยาการจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหลังจึงทำกันมาอย่างต่อเนื่อง และมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด ในปัจจุบัน ทุกประเทศได้มีการลงทุนอย่างมากในการจัดการศึกษาให้แก่ประชากรของตน ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่ามีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าขึ้น แต่โดยข้อจำกัดของวิธีการจัดการศึกษาและขีดความสามารถของการเพิ่มทรัพยากรทางการศึกษา ทำให้เกิดผลที่ยังไม่พึงพอใจในความเจริญก้าวหน้าที่เกิดขึ้น ประกอบกับอัตราเร่งของความเจริญก้าวหน้าทางด้านอื่น ๆ ทำให้ดูเหมือนว่าการศึกษายังล้าหลัง และทำให้เกิดความจำเป็นในการพัฒนาไปสู่การปฏิรูปการศึกษาโดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge based society) ที่ต้องใช้ข้อมูลและข่าวสารเป็นตัวเร่งในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคมกับนานาประเทศ เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นหนทางที่จะเข้ามาช่วยปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว จึงเกิดความตื่นตัวในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาในทุกระดับการศึกษาโดยมุ่งเน้นเป้าหมายให้เกิดขึ้นที่ผู้เรียน ให้เรียนรู้ตามความสนใจและความสามารถ ให้เกิดความคิดและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้โดยค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ ด้วยกันในห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom) และกำลังมุ่งสู่การเรียนรู้แบบ e-Learning ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: