รูป

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 6

บทที่ 6.การบริหารระบบสารสนเทศในองค์กรความพร้อมของบุคลากรในสถานศึกษา
ครูเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากครูต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนที่มีครูอายุค่อนข้างสูงส่วนมากจะมีปัญหา เพราะครูกลุ่มนี้จะไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ถ้าจะให้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจทำให้ครูบางคนไม่ชอบหรือบางคนอาจจะปฏิเสธไปเลย และหากจะให้ครูเหล่านี้ไปอบรมคอมพิวเตอร์ครูก็จะไม่ค่อยอยากไปโดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เช่น แก่แล้วสายตาไม่ดี มีภาระด้านครอบครัว กำลังจะลาออกแล้ว เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไปใช้ในโรงเรียนที่มีครูอายุมาก ๆ จึงค่อนข้างจะมีปัญหา บางครั้งเทคโนโลยีอาจจะไปสร้างปัญหาให้แก่ครูแทนที่จะไปแก้ปัญหาและช่วยพัฒนางานสำหรับโรงเรียนที่ครูมีอายุเฉลี่ยต่ำกว่า 45 ปี ครูกลุ่มนี้จะเป็นครูที่ผ่านสถาบันการศึกษาที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาแล้ว ดังนั้น จึงพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพียงแต่ขาดการสนับสนุนเท่านั้น หากสถานศึกษาให้การสนับสนุน พวกเขาก็พร้อมที่จะทุ่มเท จึงมักพบเสมอว่าครูบางคนลงทุนไปซื้อหาอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีด้วยเงินทุนส่วนตัว เพื่อนำอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้ในการสอนนักเรียนหรือใช้ทำงานอย่างอื่นเกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียน ดังนั้น การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในโรงเรียนที่ครูมีอายุเฉลี่ยค่อนข้างต่ำจึงไม่ค่อยมีปัญหา1. หลักสูตรสถานศึกษาซึ่งสอนระดับอนุบาลและประถมศึกษา นักเรียนส่วนมากยังไม่สามารถคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม ครูผู้สอนจึงต้องช่วยให้เด็กสามารถคิดโดยนำเสนอในสิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี นวัตกรรมทางด้านสื่อการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สื่อที่นักเรียนจับต้องได้หรือสามารถทำด้วยตนเองจะช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น อาจใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนเรียนศิลปะโดยการหัดวาดรูป หรือให้ออกเสียงในการเรียนภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในกรณีที่นักเรียนอ่านหนังสือออกแล้ว นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเพื่อทำงานส่งครูหรือสามารถใช้ซอฟท์แวร์บางตัวในการฝึกประสบการณ์เพิ่มจากชั้นเรียนได้สำหรับสถานศึกษาที่สอนในระดับมัธยมศึกษา เนื่องจากเด็กวัยนี้กำลังอยากรู้อยากเห็นและอยากพิสูจน์ความสามารถของตนเอง การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้จะเป็นการเสริมประสบการณ์ที่ดียิ่ง อินเทอร์เน็ตที่นำมาใช้ในโรงเรียนจะช่วยให้นักเรียนค้นหาความรู้เพิ่มเติมทั้งที่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนและสิ่งที่เขาอยากรู้เองได้ อินเทอร์เน็ตส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ระบบ e - Learning จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่พวกเขายังไม่เข้าใจขณะที่เรียนในห้องเรียนเพิ่มขึ้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer- Assisted Instruction : CAI) จึงสามารถช่วยนักเรียนได้ทั้งในการเรียนเนื้อหาใหม่ ทบทวนเนื้อหาเดิมที่เรียนแล้วแต่ยังไม่เข้าใจ ช่วยให้เรียนรู้และเข้าใจสื่อที่เป็นนามธรรมได้มากขึ้นสถานศึกษาที่สอนหลักสูตรปริญญาตรีหรือสูงกว่า นักศึกษาในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ และสังคมในมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่นักศึกษาจะต้องฝึกฝนและเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะนักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูจะต้องเรียนรู้นวัตกรรมด้านการสอนและด้านสื่อการศึกษา เช่น นักศึกษาที่เรียนวิชาเอกเคมี จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีของเครื่องมือสมัยใหม่ การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในระดับมหาวิทยาลัยจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง เพราะทำให้นักศึกษาได้ค้นหาในสิ่งที่จะนำไปใช้ประกอบอาชีพในอนาคต ได้ค้นหาความรู้บางอย่างเสริมในสิ่งที่อาจารย์สอนแล้วแต่ยังไม่เข้าใจ รวมทั้งได้ค้นหาความรู้บางเรื่องที่อาจารย์กำหนดให้ศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกการสอนสิ่งที่เป็นนามธรรมให้แก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าใดนัก เพราะผู้สอนสามารถให้นักศึกษาเรียนรู้จากบทเรียน CAI ได้ เนื่องจากการเรียนรู้บางอย่างอาจเป็นอันตรายได้ถ้าลงมือปฏิบัติจริง หรือบางอย่างนักศึกษาก็ไม่สามารถปฏิบัติได้กับของจริง ตัวอย่างเช่น นักศึกษาที่เรียนวิชาเคมี ย่อมไม่สามารถทำการทดลองบางอย่างที่มีอันตรายและมีความสิ้นเปลืองได้ หรือนักศึกษาแพทย์ที่ไม่สามารถจะเรียนรู้เส้นเลือดของมนุษย์ที่ซ่อนอยู่ใต้ผิวหนังทั้งร่างกายได้ เป็นต้นในด้านการบริหาร ปัจจุบันสถาบันการศึกษาหลายแห่งกำลังขาดบุคลากรอันเนื่อง มาจากนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการลดกำลังคน การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพได้ ตัวอย่างเช่นงานทะเบียนและวัดผล เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ในการคิดเกรดจะทำให้ลดภาระของอาจารย์และทำให้นักศึกษาได้ทราบผลการเรียนเร็วขึ้น หรือการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานห้องสมุดก็จะทำให้ลดเวลาเกี่ยวกับการทำบัตรรายการและบริการการค้นหา2 นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาทุกแห่งไม่ว่าจะทำการสอนในระดับใด จะต้องตอบสนองนโยบายของรัฐบาล แต่การตอบสนองนโยบายนั้นจะทำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความพร้อมภายในสถานศึกษา ถ้าสถานศึกษาไม่มีความพร้อมก็ไม่สามารถตอบสนองนโยบายของรัฐบาลได้ เช่น กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้โรงเรียนใช้อินเทอร์เน็ต แต่โทรศัพท์ยังเข้ามาไม่ถึง หรือโรงเรียนไม่มีงบประมาณที่จะติดจานดาวเทียม เป็นต้น3. การสนับสนุนจากผู้บริหารสถานศึกษาอำนาจในการบริหารโรงเรียนส่วนมากอยู่ที่ผู้อำนวยการหรืออาจารย์ใหญ่ แต่ในสถาบัน อุดมศึกษาผู้มีอำนาจสูงสุด ได้แก่ อธิการบดีหรือสภามหาวิทยาลัย ถ้าผู้บริหารเป็นผู้ที่ไม่สนใจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีแล้วการดำเนินการก็จะไม่ราบรื่น สถานศึกษาที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องจัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว ในการจัดทำแผน ต้องให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ในการกำหนดวิสัยทัศน์ ทั้งครู ผู้ปกครอง และผู้บริหาร ต้องร่วมกันคิด เมื่อได้วิสัยทัศน์แล้วการทำแผนก็จะต้องนำไปสู่วิสัยทัศน์นั้น แผนจะเป็นตัวกำหนดว่าโรงเรียนจะพัฒนาไปในทิศทางใดเมื่อพิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมแล้ว ขั้นต่อไปสถานศึกษาจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ ความไม่พร้อมของปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนจะยกเลิกการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ทั้งหมด แต่โรงเรียนจะต้องพยายามทำทุกวิถีทางที่จะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ให้ได้การใช้เทคโนโลยีในการสอนปัจจุบันมีมากมายหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีกลยุทธ์ในการสอนที่แตกต่างกัน ในตอนแรกนี้จะได้อภิปรายถึงเทคนิคต่าง ๆ ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน4. การใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอนสถานศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนได้ ทั้งในชั้นเรียนปกติและการศึกษาทางไกล ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียน ดังนี้4.1 การสอนในชั้นเรียนปกติ จะเป็นการใช้สอนโดยตรง หรือเป็นการใช้สอนเสริมการสอนระบบปกติ โดยการทบทวนเนื้อหาจากบทเรียนที่ผู้สอนสร้างไว้ในเว็บไซต์ หรือผู้สอนอาจงานให้ค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จากการพูดคุยระหว่างผู้เรียนในห้องสนทนา (Chat room) จากการเรียนโดยการใช้ e-mail เป็นต้น แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อ(1) ส่งเสริมการเชื่อมต่อสื่อสารกับโลกภายนอก อินเทอร์เน็ตทำให้โลกแคบลง ไม่ว่าคนจะไปอยู่ส่วนไหนของโลกก็สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ต่าง ๆ กับโลกภายนอกได้แม้จะต่างเวลา สถานที่ และวัฒนธรรมห้องเรียน ครูสมัยก่อนสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้เหมือนกันแต่จะมีปัญหาเรื่องเวลาและสถานที่ ปัจจุบันนี้ อินเทอร์เน็ตทำให้ครูและนักเรียนสามารถติดต่อหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเรียนหรือครูที่อยู่ในส่วนอื่น ๆ ของโลกได้โดยไม่มีอุปสรรคเรื่องเวลา สถานที่ และวัฒนธรรม(2) ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ปัจจุบัน นักวิจัยทางการศึกษา ครู และผู้กำหนดนโยบายเชื่อว่านักเรียนเรียนรู้โดยผ่านการปฏิสัมพันธ์สังคม (Social interaction) ดังนั้น สถานศึกษาจึงควรให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันโดยให้ทำงานเป็นทีม ซึ่งอาจให้จับคู่กันเป็นทีมตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป หรือมากกว่าก็ได้ แล้วให้ศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ต โรงเรียนสามารถนำรายงานหรือผลงานที่นักเรียนสร้างขึ้นไปเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน(3) ส่งเสริมการทำความเข้าใจในเนื้อหาที่ยากแก่การมองเห็น ตัวแบบ (Model) เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สำหรับรายวิชาต่าง ๆ ในระดับต่าง ๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ตัวแบบทำให้นักเรียนมองเห็นแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อย่างมีความหมาย ตัวอย่างเช่น ตัวแบบเกี่ยวกับการเกาะยึดระหว่างโมเลกุลของสารที่นักเรียนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แต่คอมพิวเตอร์จะสามารถจำลองตัวแบบการเกาะยึดระหว่างโมเลกุลให้นักเรียนมองเห็นภาพได้ หรือในทางการแพทย์ สามารถจำลองตัวแบบการไหลเวียนของโลหิตภายในร่างกายออกมาให้เห็นได้เนื่องจากนักศึกษาแพทย์ไม่สามารถที่จะเห็นของจริงได้จากการค้นคว้า นอกจากนี้ในการเปลี่ยน แปลงของอากาศก็สามารถทำตัวแบบออกมาให้เห็นได้เช่นเดียวกันการใช้ตัวแบบมีข้อดีคือทำให้นักเรียนเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น เพราะตัวแบบจะทำให้นักเรียนสามารถมองเห็นได้หลายแง่หลายมุม ซึ่งถ้าเทียบกับการใช้อุปกรณ์แบบเก่า ๆ แล้วจะแตกต่างกันมาก และบางเรื่องในบางวิชาหากจะใช้วิธีการแบบเก่า ๆ มาทำก็ไม่สามารถจะทำได้ นอกจากนี้ เว็บจะมีแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จำนวนมากที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างและแสดงผลที่นักเรียนสามารถจะเรียกออกมาดูได้ในชั้นเรียนหรือที่บ้าน(4) ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย ก่อนที่จะมีการใช้อินเทอร์เน็ต กระบวนการค้นคว้าวิจัยซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันอยู่โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด ครูและนักเรียนสามารถใช้บัตรหัวเรื่อง หรือชื่อเรื่อง หรืออื่น ๆ ที่ห้องสมุดใช้ ในการค้นหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นระบบ Dewey หรือ Library Congress แต่เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตกลายเป็นแหล่งข้อมูลมหาศาลที่ช่วยทำให้นักวิจัยซึ่งเคยใช้วิธีการเดิมในห้องเรียนสามารถลดเวลาในการค้นคว้าได้มาก ทั้งนี้เพราะมีเครื่องมือใหม่ ๆ ในการค้นหาข้อมูลเพิ่มขึ้น นอกจากข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ยังมีกลุ่มอภิปรายในเรื่องต่าง ๆ อีกมาก ถ้านักวิจัยมีความสนใจในเรื่องใดก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกลุ่มนั้นได้ ปัญหาในการค้นคว้าของนักวิจัยที่เกิดขึ้นก็คือการเรียนรู้การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการค้นหาประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของอินเทอร์เน็ตก็คือ สามารถนำไปใช้เพื่อการนำเสนอผลของการวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยออกไปให้แพร่หลายหลังจากการวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่เดิมก่อนที่จะมีอินเทอร์เน็ตนั้นทำได้ยากเพราะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ปัจจุบัน การนำเสนอผลของการวิจัยสามารถทำได้ง่ายมากและเสียค่าใช้จ่ายน้อยนอกจากการใช้อินเทอร์เน็ตในฐานะเป็นแหล่งข้อมูลแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้อีกด้วย ซึ่งมีวิธีการง่าย ๆ คือ หลังจากที่ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อนำคำถามเหล่านั้นไปวางไว้ในอินเทอร์เน็ต แล้วให้ผู้ตอบตอบแบบสอบถามเหล่านั้นทางอินเทอร์เน็ตได้เลย ลักษณะการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบนี้ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะการวิจัยทางด้านการตลาด(5) ส่งเสริมการทัศนศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ การไปทัศนศึกษาเป็นวิธีหนึ่งที่ครูสามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนในเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่โดยปกติแล้ว การไปทัศนศึกษามีข้อจำกัดคือ ทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ยากต่อการควบคุมนักเรียนหากกลุ่มนักเรียนที่ไปทัศนศึกษามีจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทาง และหากสถานที่ที่จะไปทัศนศึกษานั้นอยู่ห่างไกลจากบ้านของนักเรียนมาก เช่น อยู่ในต่างประเทศก็จะยิ่งทำให้การเดินทางไปทัศนศึกษามีความยากลำบากมากขึ้น แต่ด้วยความสามารถของอินเทอร์เน็ต โรงเรียนสามารถให้นักเรียนไปทัศนศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ การทัศนศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ การศึกษาที่นักเรียนและครูกระทำผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยการใช้คอมพิวเตอร์ ข้อมูลทั้งหลายที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ หรือประกาศต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลทางธุรกิจในท้องถิ่น จะถูกเรียกขึ้นมาแสดงบนจอภาพเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา พร้อมไปกับการอธิบายเพิ่มเติมของครูการทัศนศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะหลายอย่างเช่นเดียวกับการไป ทัศนศึกษาปกติ แต่มีข้อดีกว่าคือนักเรียนสามารถที่จะศึกษาข้อมูลบางอย่างได้ซึ่งถ้าให้นักเรียนไปทัศนศึกษาปกติจะไม่สามารถศึกษาได้ ในการสอนโดยการใช้ทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์นั้น ครูต้องมีการวางแผนการสอนล่วงหน้าว่าจะให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องใด และจะติดตามผลโดยวิธีใดหลังจากทัศนศึกษาแล้วการใช้วิธีทัศนศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยทำให้นักเรียนมีโอกาสติดต่อกันในลักษณะเผชิญหน้าผ่านจอภาพกับบุคคลในสถานการณ์จริง ๆ ได้ โดยใช้ระบบ Video-conference โดยเครื่องมือนี้นักเรียนสามารถที่จะพูดคุยกับบุคคลต่าง ๆ ได้ทั่วโลกข้อได้เปรียบของการทัศนศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์อีกประการหนึ่งก็คือ ครูและนักเรียนไม่ต้องพะวงเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น อากาศ การเดินทาง ข้อจำกัดของการทัศนศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนคอมพิวเตอร์และความเร็วในการสื่อสารข้อมูล รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ(6) ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงาน การเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บสามารถทำได้ง่ายมากเพียงแต่ครูและนักเรียนฝึกการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่จะนำเสนอข้อมูลบนเว็บเท่านั้น ซึ่งก็ทำได้ไม่ยาก ปัจจุบัน ครูในประเทศไทยเริ่มใช้เว็บเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงานของนักเรียนมากขึ้น เพราะนอกจากจะทำได้ง่ายและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่ากระบวนการเผยแพร่งานในระบบปกติแล้วยังสามารถได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้ค้นคว้าอีกด้วยสิ่งที่ต้องระวังในการเผยแพร่งานก็คือ จะต้องมีการควบคุมอย่างรัดกุม โดยจัดให้มีผู้ควบคุมซึ่งอาจจะเป็นครู หรือคณะกรรมการที่ประกอบด้วยนักเรียนและให้ครูเป็นที่ปรึกษา สิ่งที่ต้องควบคุมได้แก่ การดูแลรูปแบบของการนำเสนอและเนื้อหาของการนำเสนอ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งนำเสนอข้อมูลที่อาจทำความเสื่อมเสียมาสู่สถานศึกษาได้การเผยแพร่งานสามารถทำได้ในลักษณะวารสารออนไลน์ ซึ่งอาจจะเป็นวารสารของโรงเรียนหรือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็ได้ นอกจากนี้ยังอาจจะเป็นลักษณะของกลุ่มสนใจก็ได้(7) ส่งเสริมความสามารถเฉพาะบุคคล เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันและมาจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงมีความสนใจและความต้องการที่แตกต่างกันด้วย ครูจะต้องพยายามพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น แม้จะเป็นการยากที่ครูจะทำหลักสูตรหรือสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กตามที่เด็กทุกคนต้องการได้ แต่การพัฒนาให้เด็กในฐานะผู้เรียนได้รู้จักตนเองว่าเป็นใคร และมีความต้องการในเรื่องใดก็สามารถนำไปสู่การตอบสนองความต้องการของเด็กได้(8) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับชุมชน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนจะต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่เสมอ อินเทอร์เน็ตจะช่วยให้ครูฝ่าอุปสรรคในการติดต่อระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เทคโนโลยีทางเว็บทำให้ครูสามารถจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนและหลักสูตรเพื่อนำเสนอบนเว็บได้ สมาชิกของชุมชนทุกคนสามารถที่จะได้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว นักเรียนสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ตนต้องการเชื่อมโครงงานต่าง ๆ ในรายวิชาที่เรียน ผู้ปกครองสามารถเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของโรงเรียนได้เป็นวัน ๆ ส่วนสมาชิกในชุมชนที่ไม่มีบุตรก็จะได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในโรงเรียน(9) การพัฒนาทางด้านวิชาการของครู ปัจจุบัน ครูจำนวนมากยังขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการเรียนการสอนนั้นจึงไม่ใช่เฉพาะนักเรียนเท่านั้นที่เป็นผู้เรียนแต่ครูก็เป็นผู้เรียนด้วย อินเทอร์เน็ตช่วยให้ครูมีประสบการณ์มากขึ้น โดยครูสามารถที่จะติดต่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับครูคนอื่น ๆ ทำให้ครูได้เรียนรู้วิธีการสอนใหม่ ๆ และสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการสอนของตัวครูเอง สำหรับครูจำนวนมากแล้ว การใช้อินเทอร์เน็ตหมายถึงการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสิ่งที่ครูยังไม่เคยรู้มาก่อน การพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาวิชาชีพของครูสามารถได้มาจากประสบการณ์เหล่านี้ เป็นการสร้างโอกาสใหม่ ๆ สำหรับการเรียนรู้ซึ่งมีอยู่มากมายในอินเทอร์เน็ต4.2 มหาวิทยาลัยเสมือน (Virtual University) เป็นการเรียนที่ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาจากการฟังบรรยายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จากบทเรียนในเว็บไซต์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดไว้ จากการค้นคว้า จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จากการปรึกษากับผู้สอน จากการสร้าง E-mail โต้ตอบในบางเรื่อง โดยทั่วไปแล้ว การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเสมือนจะใช้ระบบ e-Learning ในระบบของมหาวิทยาลัยเสมือนนั้น การทำธุรกิจต่าง ๆ จะกระทำผ่านระบบอินเทอร์เน็ตทั้ง หมด ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องไปมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยลักษณะนี้บางทีเรียกว่า Cyber University ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยในประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป ที่ใช้ระบบนี้ สำหรับในประเทศไทย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญใช้ระบบนี้แล้ว และในปีต่อๆ ไปจะมีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่จะจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้4.3 ห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom) ห้องเรียนลักษณะนี้เป็นห้องเรียนที่ผู้เรียนจะอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของโลก โดยผู้สอนจะสอนอยู่ในห้องส่งซึ่งอาจจะเป็นห้องเรียนจริงก็ได้ แล้วส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งภายในหรือภายนอกสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนพร้อม ๆ กัน การเรียนด้วยระบบนี้ห้องส่งจะต้องมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ครบถ้วน เช่น กล้องวิดีทัศน์ ไมโครโฟน ลำโพง และซอฟต์แวร์ ที่จะจัดการส่งสัญญาณภาพและเสียง สำหรับผู้เรียนจะมีเพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นก็สามารถเรียนได้แล้ว แต่ถ้าหากต้องมีการโต้ตอบกับผู้สอน ผู้เรียนจะต้องมีกล้องวิดีทัศน์ติดตั้งไว้ แล้วสามารถพูดผ่านไมโครโฟนโต้ตอบกับผู้สอนได้เลย5. การใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนดาวเทียมสามารถใช้ในการสอนแบบทางไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะการทำงานคือ ครูจะสอนนักเรียนในห้องเรียนซึ่งทำหน้าที่เป็นห้องส่งสัญญาณ ภาพและเสียงจากห้องควบคุมจะถูกส่งจากสถานีส่งภาคพื้นดินขึ้นไปยังสถานีถ่ายทอดบนดาวเทียมซึ่งลอยอยู่ในอวกาศ และสัญญาณภาพจากสถานีบนดาวเทียมจะถูกส่งลงมายังเครื่องรับโทรทัศน์บนภาคพื้นดิน การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมนั้นยังเป็นที่นิยมใช้เพื่อการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยังไม่มีสายสัญญาณโทรศัพท์ในประเทศไทย การสอนทางไกลด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 โดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การจัดการเรียนการสอนใช้วิธีถ่ายทอดสดการสอนจากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน หลักสูตรในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ หลักสูตรในระดับมัธยมศึกษาสำหรับในต่างประเทศ ได้มีการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถาบันอุดมศึกษาด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมมานานแล้ว เช่น Ghandi National Open University ในประเทศอินเดีย The African Virtral University ในประเทศอาฟริกา และ The Monterry Institute of Technology ในประเทศเม็กซิโก6. การเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีการประชุมทางไกลด้วยวิดีทัศน์เทคโนโลยีการประชุมทางไกลด้วยวิดีทัศน์ (Video Teleconference) เป็นเทคโนโลยีการส่งสัญญาณจากห้องส่งไปยังสถานีรับโดยผ่านทางสายสัญญาณ ผ่านไมโครเวฟ และดาวเทียม ถ้าเป็นการเรียนการสอน ผู้สอนจะทำการสอนอยู่ในห้องเรียนซึ่งจะทำหน้าที่เป็นห้องส่งไปในตัวด้วย สัญญาณภาพและเสียงจะถูกส่งไปยังเครื่องรับปลายทาง สำหรับเครื่องรับปลายทางนั้น นอกจากนำภาพและเสียงมาเผยแพร่แล้วยังจะต้องมีอุปกรณ์ที่จะให้ผู้เรียนสามารถถามปัญหาต่าง ๆ จากผู้สอนได้ เทคโนโลยีการสอนโดยวิธีนี้ นอกจากใช้สอนโดยตรงแล้วยังสามารถที่จะใช้ทบทวนบทเรียนที่เคยสอนแล้วได้ด้วย โดยการนำสำเนาข้อมูลการสอนครั้งที่ผ่านมามาเปิดดูได้ใหม่ ในประเทศไทยใช้เทคโนโลยีการสอนแบบนี้อยู่หลายแห่ง ตัวอย่างเช่น ที่มหาวิทยาลัย ราชภัฎสวนดุสิต มีการเรียนการสอนทางไกลโดยการส่งสัญญาณภาพและเสียงจากมหาวิทยาลัย ผ่านสายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติค (Fibre optic) ไปยังศูนย์การศึกษาต่าง ๆ ที่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 20 ศูนย์การศึกษา ที่ห้องเรียนรวมของศูนย์ฯ จะมีจอภาพขนาดใหญ่ที่ใช้รับภาพและอาจมีโทรทัศน์ประกอบด้วย ห้องเรียนที่มีขนาดใหญ่มาก เสียงจะส่งออกทางลำโพงที่ติดไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ภาพและเสียงจะถูกปรับให้คมชัดโดยเจ้าหน้าที่ควบคุมที่อยู่ในห้องควบคุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลระหว่างมหาวิทยาลัยที่บางเขนและวิทยาเขตกำแพงแสน โดยส่งสัญญาณภาพและเสียงออกไปจากห้องเรียนที่ศูนย์เรียนรวมบางเขนไปยังห้องเรียนที่ศูนย์เรียนรวมกำแพงแสนโดยระบบไมโครเวฟ ที่ศูนย์เรียนรวมนี้ ภาพจะถูกฉายขึ้นบนจอภาพขนาดใหญ่ และเสียงจะส่งออกทางลำโพงที่ติดไว้ตามตำแหน่งต่าง ๆ ของห้อง ภาพที่ปรากฏบนจอภาพสามารถปรับให้มีความคมชัดโดยเจ้าหน้าที่ในห้องควบคุม นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในการสอน เช่น ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยนเรศวร7. การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการใช้ระบบช่วยงานคอมพิวเตอร์เพื่อการรับและการส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เพื่อติดต่อเข้าศูนย์บริการข้อมูล ในการส่งข้อมูลและข่าวสารนั้น สามารถที่จะส่งได้ทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ภาพ และเสียง เมื่อผู้ส่งข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตเข้าศูนย์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลของระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ตนใช้อยู่เพื่อส่งต่อไปยังผู้รับที่ติดต่อ ทางฝ่ายผู้รับอาจจะเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนไว้ตลอดเวลา แล้วตั้งโปรแกรมให้เตือนเมื่อมีข่าวสารส่งเข้ามาโดยที่ผู้รับไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หรือถ้าไม่ได้เปิดเครื่องไว้ ข่าวสารที่ส่งมานั้นจะถูกเก็บไว้ในเครื่องบริการที่ผู้รับเป็นสมาชิก เมื่อผู้รับทราบว่ามีข่าวสารอะไรส่งบ้างก็จะเปิดเครื่องตรวจสอบได้สถานศึกษาสามารถใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์มาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนได้ในลักษณะดังต่อไปนี้7.1 การอภิปรายกลุ่ม ตามปกติแล้วการอภิปรายในชั้นเรียนจะเป็นการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน การอภิปรายจึงเป็นกิจกรรมสำคัญในการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนนั้น แต่การอภิปรายโดยทั่วไปของนักเรียนไทยมักจะใช้วิธีการพูดหรือการแสดงออก การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นการขจัดความกลัวออกไปได้ นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อเรื่องนั้นก็จะสามารถส่งไปได้เลย การสนทนาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกันจึงคล้ายคลึงกับการอภิปรายในชั้นเรียน นอกจากเรื่องการขจัดความกลัวแล้วยังขจัดปัญหาในเรื่องของเวลาและยังทำให้ครูสามารถเข้าถึงนักเรียนเป็นรายคนได้7.2 การส่งงานและการติดตามงาน เมื่อครูมอบหมายให้นักเรียนทำตามเวลาที่กำหนดแล้วให้ส่งงานทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ถ้านักเรียนไม่ส่งครูสามารถติดตามได้โดยไม่ต้องทวงถามในชั้นเรียนให้นักเรียนมีความรู้สึกไม่ดี8. การใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอนเนื่องจากเว็บเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเป็นแหล่งข้อมูลมหาศาล จึงมีนักการศึกษาพยายามที่จะใช้เว็บเป็นเครื่องมือในการสอน ซึ่งเรียกการสอนแบบนี้ว่าการสอนบนเว็บ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนในรูปแบบสื่อหลายมิติ (Hypermedia) ที่นำเอาคุณลักษณะเด่นและทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเว็บมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน และกิจกรรมการเรียนการสอนการสอนบนเว็บสามารถใช้ได้กับทุกวิชาโดยอาจจะใช้สอนทั้งรายวิชาหรือเพื่อประกอบเนื้อหาวิชาการสอน แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ8.1 ใช้เว็บทั้งวิชา เป็นการสอนที่ผู้สอนนำเนื้อหาวิชาและทรัพยากรทั้งหมดนำเสนอไว้บนเว็บ ผู้เรียนจะเรียนผ่านทางคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต การสอนลักษณะนี้ส่วนมากจะใช้กับระบบการศึกษาทางไกล8.2 ใช้เว็บเสริม เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนจะพบกันในห้องเรียนแต่เนื้อหาและทรัพยากรหลายอย่างที่สนับสนุนเนื้อหาและกิจกรรมที่จะทำระหว่างเรียน ผู้สอนจะกำหนดไว้บนเว็บผู้เรียนจะต้องไปศึกษาเอง8.3 การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ บนเว็บเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา วิชาการสอนแบบนี้อาจารย์จะนำเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามาเป็นส่วนหนึ่งของวิชา หรืออาจใช้เป็นกิจกรรมการเรียนของวิชาก็ได้ การสอนแบบนี้นักเรียนจะต้องค้นหาข้อมูลศึกษารายละเอียดต่าง ๆ จากเว็บที่กำหนด9. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรมีลักษณะการนำเสนอเป็นตอนสั้น ๆ ที่เรียกว่า เฟรมหรือกรอบเรียงลำดับไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง (Self learning) และควรทำปุ่มควบคุมหรือรายการควบคุมการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น มีส่วนที่เป็นบททบทวนหรือแบบฝึกปฏิบัติรวมทั้งแบบทดสอบ หลังจากที่มีการนำเสนอไปแต่ละตอนหรือแต่ละช่วงควรตั้งคำถามเพื่อทบทวนหรือตรวจสอบความเข้าใจในเนื้อหาใหม่ที่นำเสนอให้ผู้เรียน การตอบสนองต่อการตอบคำถาม ควรใช้เสียงหรือคำบรรยายหรือภาพกราฟิกเพื่อสร้างแรงจูงใจ ความมั่นใจในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเนื้อหาสำหรับเด็กเล็ก นอกจากนี้ควรมีส่วนที่เสริมความเข้าใจในกรณีที่ผู้เรียนตอบคำถามผิด ไม่ควรข้ามเนื้อหา โดยไม่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง เวลาในการเรียนควรให้อิสระต่อผู้เรียน ไม่ควรจำกัดเวลาเพื่อเปิดโอกาสให้เรียนตามความต้องการของผู้เรียน เนื้อหาบทเรียนควรมีทางเลือกหลากหลาย เช่น ถ้าผู้เรียนรับรู้ได้เร็ว ก็สามารถข้ามเนื้อหาบางช่วงได้ เป็นต้นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสอนหรือมาใช้งาน สามารถกระทำได้หลายลักษณะ ได้แก่9.1 ใช้สอนแทนผู้สอนทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน บททบทวน และสอนเสริม9.2 ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่นผ่านดาวเทียม เป็นต้น 9.3 ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อนไม่สามารถแสดงของจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร 9.4 เป็นสื่อช่วยสอนการควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ หรือวิชาที่มีอันตรายโดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ 9.5 เป็นสื่อแสดงลำดับขั้นของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจนและช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์หรือหัวเทียน